ช็อท (shot)
หมายถึง ลักษณะภาพที่เกิดจากการถ่ายภาพตั่งแต่เริ่มถ่ายไปจนถึงการหยุดการเดินกล้อง เรียกว่า 1 ช้อท หรือ 1 เทค (take)ซึ่งอาจมีการถ่ายภาพซ้ำกันมากกว่า 1 ครั้งในช็อทเดียวกัน และ ถ้าหากมีความผิดพลาดเกิดขึ้นในแต่ละครั้ง เราสามารถถ่ายใหม่ ได้ซึ่งเราเรียกว่า ถ่ายซ้ำ (retake)
ซีน (scene)
หมายถึง สถานที่ (place) หรือ ฉาก (set) ที่จัดขึ้น หรือ ดัดแปลงขึ้นเพื่อใช้ในการแสดง เพื่อการถ่ายทำ หรือ การนำเอาช็อทหลายๆช็อทมารวมกันซึ่งเป็นช็อทที่เหตุการณ์เกิดขึ้นในสถานที่ เดียวกัน เวลาเดียวกัน หรือมีความต่อเนื่องทางเนื้อหา ซึ่งในแต่ละซีน อาจมีหลายช็อท หรือช็อทเดียว ได้ (long take) ขึ้นอยู่กับความเข้าใจของผู้ชม
ซีเควนซ์ (sequence)
หมายถึง ตอน หรือช่วงเหตุการณ์หนึ่ง เป็นการรวบรวมเอาฉากหลายๆฉากที่มีความสัมพันธ์ กันมาต่อเนื่องกันเข้า และเมื่อรวมต่อเข้ากันแล้วจะเกิดผลสมบูรณ์ของเนื้อหาอยู่ในตัวเอง สามารถจบ เหตุการณ์ในช่วงนั้นๆลงโดยที่ผู้ชมเข้าใจได้ ซึ่งในซีเควนซ์หนึ่งงๆ อาจประกอบด้วยซีนเดียว หรือหลาย ซีนได้ อีกทั้งเวลาถ่ายทำควรมีการจัดหมวดหมู่ซีเควนซ์ ทุกครั้ง
ความยาวของแต่ละช็อท อาจจะเป็นแค่ 2 วินาทีไปจนถึง 30 วินาที ไม่มีกฏตายตัวแน่นอน เกี่ยวกับความยาวในแต่ละช็อททั้งนี้ขึ้นอยู๋กับการแสดง(action) และคำบรรยาย ช้อทที่มีรายละเอียด และมีกิจกรรมมากอาจต้องใช้เวลานานกว่าช็อทที่อยู่นิ่งๆ ดังนั้นจึงควรกำหนดเวลาในแต่ละช็อท ให้ยาวนานพอที่จะเสนอแนวความคิดและข้อมูล แต่ไม่ควรยาวนานเกินไปจนดูยืดยาด และน่าเบื่อ
มุมกล้อง (camera angle shots)
ภาพระดับสายตา (eye level shot)
เป็นการตั้งกล้องระดับปกติทั่วไป โดยตั้งกล้องสูงแนวระดับตาผู้แสดง มักจะไม่ระบุไว้ในบทโทรทัศน์ เพราะถือว่าเป็นที่เข้าใจกันอยู่แล้ว
ภาพระดับมุมสูง (high level shot)
เป็นการตั้งกล้องมุมสูง เพื่อต้องการให้เห็นความลึกหรือระยะทางไกล ในกรณีนี้ต้องระบุไว้ใน บทโทรทัศน์ว่า กล้องมุมสูง แต่ถ้าต้องการถ่ายมุมที่สูงมากลงมา จะเรียกกันว่า มุม bird’s eyes view ซึ่งในการใช้มุมกล้องลักษณะนี้เพื่อหวังผลทางจิตวิทยา หมายถึง สิ่งที่ถูกถ่ายทำจะถูกลดความสำคัญ เน้นความรู้สึกอ่อนแอ ไม่มีพลัง ถูกครอบงำด้วยสภาพแวดล้อมรอบๆตัว
ภาพระดับมุมต่ำ (low level shot)
เป็นการตั้งกล้องมุมต่ำ มักจะใช้เป็นภาพแทนสายตาผู้แสดง หรือ ต้องการให้เห็นภาพในมุม แปลก ในกรณีนี้ต้องระบุในบทโทรทัศน์ว่า กล้องมุมต่ำ ซึ่งในการใช้มุมกล้องลักษณะนี้เพื่อหวังผล ทางจิตวิทยา หมายถึง สิ่งที่ถ่ายทำจะมีพลัง เข้มแข็ง มีอิทธิพลสามารถควบคุมสภาพแวดล้อมได้
ซ็อทพื้นฐาน (basic shots)
เพื่อแสดงให้เห็นลักษณะของภาพ ขนาดของภาพที่จะถ่าย
1. ภาพระยะไกลมาก Extreme Long shot (ELS)
หมายถึง การถ่ายภาพภาพในระยะที่อยู่ไกลมาก เพื่อให้เห็นถึงบรรยากาศโดยรอบของสถานที่ หรือ สภาพแวดล้อมไม่มีการเน้นสิ่งใดสิ่งหนึ่ง
2. ภาพระยะไกล Long shot (LS)
หมายถึง การถ่ายภาพวัตถุในระยะไกล เพื่อแสดงที่ตั้งหรือส่วนประกอบในฉาก หรือแสดงสัดส่วน ของขนาดวัตถุเปรียบเทียบกับส่วนประกอบอื่นๆในฉาก เช่น ภาพเต็มตัว
3. ภาพระยะไกลปานกลาง Medium Long shot (MLS)
หมายถึง การถ่ายภาพวัตถุในระยะไกล ที่แสดงให้เห็นถึงรายละเอียดของวัตถุ
4. ภาพระยะปานกลางMedium shot (MS)
หมายถึง การถ่ายภาพวัตถุในระยะปานกลางเพื่อ ตัดฉากหลังและรายละเอียดอื่นๆที่ไม่จำเป็นออกไป อีกทั้งยังเป็นการถ่ายภาพวัตถุให้เห็นภาพที่ใหญ่กว่าเดิม เน้นส่วนละเอียดมากขึ้น เช่นภาพครึ่งตัว
5. ภาพระยะปานกลางใกล้ Medium Close Up shot (MCU)
หมายถึง ภาพถ่ายวัตถุในระยะปานกลาง ที่ถ่ายเน้นรายละเอียดของวัตถุให้เข้าใกล้มาอีก
6. ภาพระยะใกล้ Close Up (CU)
หมายถึง ภาพถ่ายระยะใกล้วัตถุ เพื่อเน้นวัตถุ หรือบางส่วนของวัตถุขจัดสิ่งอื่นๆที่ไม่ต้องการแสดง ออกไป ขยายให้เห็นรายละเอียดเฉพาะของวัตถุให้ชัดเจนมากขึ้น เช่นภาพครึ่งหน้าอก
7. ภาพระยะใกล้มาก Extreme Close Up (ECU)
หมายถึง ภาพถ่ายที่เน้นให้เห็นส่วนใดส่วนหนึ่งของวัตถุอย่างชัดเจน เช่นนัยน์ตา เพื่อแสดง อารมณ์ของผู้ที่อยู่ในภาพ
ลักษณะของภาพที่ถ่าย
เพื่อบอกเนื้อหา หรือเรื่องราวของภาพและลักษณะภาพหรือธรรมชาติของภาพที่ถ่าย
1. ภาพที่ถ่ายจากมุมสูง (aerial shot / bird’s eyes view)
หมายถึง ภาพถ่ายในลักษณะถ่ายจากมุมสูง เช่น จากเครื่องบิน เสมือนภาพแทนสายตานก ในบทโทรทัศน์นอกจากบอกว่า ตั้งกล้องมุมสูงแล้วจะต้องระบุด้วยว่าถ่ายจากเครื่องบิน
2. ภาพที่ถ่ายในระยะใกล้มาก (Big Close Up Shot)
หมายถึง ภาพถ่ายในลักษณะใกล้มีขนาดใหญ่ เช่น ภาพคนเต็มหน้า หรือภาพบางส่วนของใบหน้าที่ต้องการเน้นเฉพาะ เช่น นัยน์ตา ปาก จมูก หรือบางส่วนของวัตถุ
3. ภาพครึ่งอก (Bust Shot)
หมายถึง ภาพถ่ายศีรษะกับหัวไหล่ทั้งสองของผู้แสดง
4. ภาพเอียง (Canted Shot)
หมายถึง ภาพที่อยู่นอกเส้นดิ่งของภาพ ในบทโทรทัศน์มักจะบอกรายละเอียดเพิ่มเติม เช่น ภาพเอียง หรือภาพเฉียง ลักษณะใด
5. ภาพถ่ายข้ามไหล่ (Cross Shot)
หมายถึง ภาพที่ถ่ายข้ามไหล่ด้านหลังอีกคนหนึ่งเป็นฉากหน้า และเห็นหน้าอีกคนหนึ่ง ในบทโทรทัศน์ใช้คำว่า X- Shot หรือถ่ายข้ามไหล่
6. ภาพเต็มตัว (Full Shot)
หมายถึง ภาพผู้แสดงคนเดียว หรือหลายคนเต็มตัว โดยมีฉากหลังประกอบ
7. ภาพระดับเข่าของร่างกาย (Knee Shot)
หมายถึง ภาพที่ถ่ายตั่งแต่ศีรษะลงไปจนถึงหัวเข่า หรือการถ่ายภาพตั่งแต่หัวเข่าลงไปถึงเท้า ซึ่งในบทโทรทัศน์ควรระบุให้ชัดเจน
8. ภาพถ่ายจากกระจกเงา (Mirror Shot)
หมายถึง ภาพที่ถ่ายผู้แสดงจากภาพในกระจกเงา ซึ่งในบทโทรทัศน์ควรระบุให้ชัดเจนว่าเป็นภาพจากกระจกเงา
9. ภาพหมู่ (Group shot)
หมายถึง ภาพในลักษณะรวมกันเป็นหมู่ หรือเป็นกลุ่มคน
10. ภาพบุคคล 2 คนครึ่งตัว (Two Shot / Double Shot )
หมายถึง ภาพบุคคล 2 คนครึ่งตัวในกรอบภาพเดียวดัน หันหน้าเข้าหากัน
หลักการกำหนดภาพ
1. ภาพแบบออฟเจคตีฟ (Objective Shot)
หมายถึง การถ่ายภาพในลักษณะแทนสายตาของผู้ชม หรือผู้สังเกตการณ์ ตำแหน่งของกล้องจะอยู่ทางด้านหน้าของนักแสดง
2. ภาพแบบซับเจคตีฟ (Subjective Shot)
หมายถึง การถ่ายภาพในลักษณะกล้องจะตั้งอยู่ในตำแหน่งแทนสายตาของผู้แสดง และกำกับมองดูการกระทำ เช่นเดียวกับที่ผู้แสดงมองเห็น ตัวอย่างที่ใช้กันบ่อยๆคือ ตั้งกล้องในมุมสูง ถ่ายภาพข้ามไหล่ผู้แสดงไปยังวัตถุที่กำลังแสดง
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น